Will metaverse be the future?

เราได้เห็นข่าวการซื้อที่ดินใน Metaverse มาตั้งแต่ปลายปี 2021 ที่ผ่านมา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการแต่งงานใน Metaverse ของบ่าวสาวในอเมริกาและอินเดีย ที่ผู้ร่วมงานสามารถแสดงความยินดีโดยการให้ Cryptocurrency เป็นของขวัญแก่บ่าวสาว เศรษฐกิจของ Metaverse เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทำไมผู้คนและบริษัทถึงตกลงซื้อที่ดินในโลกเสมือนที่เขาไม่สามารถจับต้องได้ และในราคาที่ไม่น้อยสำหรับการซื้อของในโลกอินเทอร์เน็ต เหตุผลก็คือเพราะคนเหล่านั้นมีความเชื่อว่า Metaverse คืออนาคต และการซื้อที่ดินใน Metaverse คือการลงทุนที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของที่ได้ ยกตัวอย่างการซื้อที่ดินราคา 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของ Tokens.com ใน Decentraland โดย Andrew Kiguel ผู้เป็น CEO คาดการณ์ว่าที่ดินนี้จะสามารถสร้างเงินให้เขาหลักล้าน หรืออาจจะพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ Kiguel วางแผนจะจัด fashion show ในเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดง collection จากแบรนด์ชั้นนำแล้ว ในงานยังมีนางแบบในรูปแบบ avatar บน catwalk และ…

Will metaverse be the future?
Will metaverse be the future?

LISTING CRITERIA FOR SPAC ON SGX

ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ประกาศกฎการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของ SPAC (“กฎการออกหุ้นใหม่”) โดยมีการคาดการณ์ว่า กฎการออกหุ้นใหม่นี้จะเพิ่มสีสันให้กับตลาดหลักทรัพย์สิงค์โปร์และโปรโมต SGX ให้เป็นคนริเริ่มใช้ช่องทางการระดมทุนทางเลือกใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เพื่ออธิบายในเบื้องต้น SPACs หรือ Special Purpose Acquisition Companies หรือ บริษัทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะคือการควบรวมกิจการ คือ บริษัทกล่องที่จัดตั้งโดยนักลงทุน เพื่อทำการรระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering หรือ IPO) โดยยังไม่มีการกำหนดบริษัทเป้าหมายที่จะทำการควบรวมกิจการ โดย SPAC มีข้อดีเหนือกว่าการทำ IPO แบบดั้งเดิมในหลากหลายประการ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน แม้ในภาวะที่ตลาดมีความผันผวน หรือมีข้อจำกัดสภาพคล่องของตลาด นอกจากนี้ SPAC ยังช่วยลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม และยังร่นระยะเวลาการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้เร็วยิ่งขึ้น…

LISTING CRITERIA FOR SPAC ON SGX
LISTING CRITERIA FOR SPAC ON SGX

ฝึกงานกับบริษัท Consult Startup — 2Ext Internship 2021

ก่อนอื่นเลย เราขอแนะนำตัวก่อนน้า เราเรียนอยู่ปี 3 ภาคบริหารสาขาไฟแนนซ์ และอย่างที่ทุกคนรู้กันเนอะ ว่าช่วงปิดเทอมปี 3 ขึ้นปี 4 เป็นช่วงที่เด็กส่วนใหญ่จะหาที่ฝึกงานกัน ซึ่งเราก็เป็นหนึ่งในนั้นเหมือนกันค่ะ ด้วยความที่เรามีความตั้งใจอยู่แล้ว ว่าอยากฝึกงานด้านการเงินโดยตรงหรือไม่ก็เป็นงานด้าน consult ไปเลย พอเราเห็น “2Ext” ซึ่งเป็นบริษัท Consult เปิดรับ Intern ตำแหน่ง Business Analyst เราก็รีบสมัครเลยค่ะ เพราะ เราเห็นว่ามันตรงกับสิ่งที่เราสนใจ และตรงกับสิ่งที่เราได้เรียนมาพอดี และที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือ นี่เป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาสำหรับกลุ่ม Startup โดยเฉพาะเลยยย…

ฝึกงานกับบริษัท Consult Startup — 2Ext Internship 2021
ฝึกงานกับบริษัท Consult Startup — 2Ext Internship 2021

สตาร์ทอัพกับการกำกับดูแล (Startups, Laws and Regulations) (ตอนที่ 1)

การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่เป็นธุรกิจขึ้นมาอย่างหนึ่ง เราจำเป็นต้องสนใจเรื่องกฎหมายด้วยหรือ บางคนคิดว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคเป็นภาระ หาก “เสียเวลา” คิดเรื่องกฎหมายก็ไม่ต้องเริ่มต้นทำธุรกิจกันพอดี จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่นั้น กฎหมายเป็นเรื่องแรก ๆ ที่ควรคิดถึงในช่วงแรกของการทำสินค้าหรือบริการ เพื่อที่สตาร์ทอัพจะสามารถประเมินความเสี่ยงของการทำธุรกิจและหาทางรับมือหรือหาทางออกสำหรับปัญหาไว้แต่เนิ่น ๆ หากเราปรับทัศนคติทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ความเข้าใจกฎหมายในการประกอบธุรกิจนั้นคือความได้เปรียบ และทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงและวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างรอบคอบแล้ว การทำธุรกิจก็จะไม่สะดุดง่าย ๆ สตาร์ทอัพซึ่งอยากเติบโตอย่างรวดเร็วแต่มั่นคงก็ควรหันมาพิจารณามุมมองเรื่องกฎหมายและการกำกับดูแลของสตาร์ทอัพเสียตั้งแต่แรก…

เริ่มต้นตั้งบริษัท (Setting up a company)

เมื่อเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพแล้วจำเป็นต้องจดบริษัทหรือไม่ ในช่วง Idea Stage ผู้ก่อตั้ง (Founders) อาจจะยังไม่จดทะเบียนบริษัทก็ได้เพราะเมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้วก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาเช่น ค่าจ้างทำบัญชีและสอบบัญชี แต่ถ้ามีผู้ร่วมก่อตั้ง (Co-founder) หลายคน และเริ่มดำเนินธุรกิจแล้ว เช่น มีลูกค้า มีการจ้างลูกจ้าง หรือเริ่มผลิตสินค้าและบริการ มีทรัพย์สินทางปัญญา ก็ควรพิจารณาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และจดทะเบียนในรูปแบบของ “บริษัทจำกัด” นั้นเป็นรูปแบบที่เป็นสากล เพื่อแบ่งหน้าที่และสัดส่วนผลประโยชน์ในบริษัท มีการกำหนดความสัมพันธ์ของหุ้นส่วนในบริษัทอย่างชัดเจน แต่หากเป็นช่วงที่สตาร์ทอัพต้องการเงินลงทุนภายนอกจากนักลงทุนแล้ว จำเป็นต้องจดทะเบียนบริษัททันทีหรืออย่างช้าที่สุดเมื่อมีนักลงทุนตกลงลงทุน…

ก้าวขาให้ถูกเมื่อเตรียมตัวหาเงินทุน (First Step to prepare for fundraising)

ก้าวขาให้ถูกเมื่อเตรียมตัวหาเงินทุน (First Step to prepare for fundraising) เนื่องจากสตาร์ทอัพมักจะมุ่งไปที่การสร้างผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ด้วยจำนวนคนและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ส่วนมากไม่มีการบริหารจัดการงานเอกสาร การประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท มักไม่ได้นัดประชุมกันจริง ๆ และมักไม่มีการจัดทำรายงานการประชุม เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องหาเงินทุน (Fundraising) แล้วนักลงทุนขอทำดิวดิลิเจนท์ (Due Diligence)จึงค่อยตระหนักว่า ไม่มีเอกสารนั้นภายในบริษัทหรือเอกสารสูญหาย ต้องเสียเวลาจัดทำขึ้นใหม่ ทำให้สตาร์ทอัพหลายรายได้เงินทุนช้ากว่ากำหนด หรือบางครั้งก็พลาดการลงทุนไปเลย เนื่องจากขาดเอกสารสำคัญ ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจและมองว่าเป็น red flag ที่ไม่สามารถลงทุนได้ สตาร์ทอัพมักคิดว่า ไป pitch ให้นักลงทุนฟังจนได้ Term Sheet มาแล้วก็เซ็นกันก็จบได้เงิน แต่จริง ๆ แล้วกระบวนการ “Fundraising” นั้นเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น สตาร์ทอัพยังต้องผ่านการทำ Due Diligence จากนักลงทุน ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมคือเอกสารด้านการเงินและเอกสารทางกฎหมายต่าง ๆ สตาร์ทอัพจึงควรจัดเก็บและจัดทำเอกสารเหล่านี้ให้เป็นระบบระเบียบเป็นหมวดหมู่ตั้งแต่ต้น เอกสารต่าง ๆ เหล่านี้เช่นอะไรบ้าง…

2Ext

We are a trusted partner for the startups from the first step to finish line.