Retail CBDC และอนาคตการเงินดิจิทัลของประชาชน (The future of digital finance)

2Ext
3 min readSep 10, 2021

--

Retail CBDC คืออะไร
Retails CBDC หรือ Retails Central Bank Digital Currency คือเงินสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ สำหรับรายย่อย

ทำไมต้องมี Retail CBDC
เนื่องจากการทำธุรกรรมการโอนเงินในปัจจุบัน จำเป็นต้องพึ่งพาธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นเอกชนจนมากเกินไป จึงมีความจำเป็นที่ธนาคารกลางของประเทศต้องการหาทางออกให้ประชาชนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างกันได้โดยปราศจากตัวกลางและค่าธรรมเนียม เพื่อป้องกันการผูกขาดของธุรกิจการเงินภาคเอกชน ซึ่งอาจให้บริการที่ไม่เป็นธรรมหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ไม่ถูกต้อง

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีความต้องการจะสร้างระบบเงินสกุลดิจิทัลสำหรับประชาชน เปรียบเสมือนการนำเอาเงินธนบัตรแปรเปลี่ยนจากกระดาษให้เป็นดิจิทัล โดยอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยและจะเริ่มทำการทดสอบนำ CBDC มาใช้ในวงจำกัด (Pilot) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2565

Retail CBDC ต่างจาก Cryptocurrency อย่างไร
ธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวว่าต้องการสมดุลระหว่าง CeFi (Centralize Finance) และ DeFi (Decentralize Finance) เนื่องจากการพึ่งพาระบบ CeFi เพียงอย่างเดียวไม่อาจทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ดีได้ และการพึ่งพาระบบ DeFi เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการกำกับดูแลอาจทำให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความผันผวนของมูลค่า ความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกสกุลเงินดิจิทัลนั้น ๆ

ฉะนั้น Retail CBDC จึงตอบโจทย์ในด้านความปลอดภัย มีความเสี่ยงต่ำเทียบเท่ากับการถือธนบัตรเงินสด แต่ในอีกด้านหนึ่งยังสามารถต่อยอดในทางความคิดเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อีกด้วย

รูปแบบของ Retail CBDC ที่จะออกใช้ในไทย
1. เน้นให้คล้ายเงินสด — โดยสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ทั้งแบบเชื่อมต่อและไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้

2. ไม่สร้างภาระต้นทุนหรือค่าธรรมเนียมให้กับผู้ใช้ และให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงเพื่อต่อยอดนวัตกรรมหรือเขียนโปรแกรมเพิ่มลักษณะพิเศษ (programmability)

3. กระจายผ่านตัวกลาง — เช่น สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการทางการเงินอื่นที่มีความชำนาญและคุ้นเคยกับการทำ KYC (Know Your Customer) กับธุรกิจและประชาชนอยู่แล้ว

4.ไม่จ่ายดอกเบี้ยและจำกัดปริมาณการถือหรือการไถ่ถอน — เพื่อป้องกันการถอนเงินจำนวนมากอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ ในช่วงวิกฤต รวมทั้งป้องกันการฟอกเงิน

5. ใช้ประโยชน์จากข้อดีของเทคโนโลยีแบบรวมศูนย์และแบบกระจายศูนย์โดยเทคโนโลยีแบบรวมศูนย์จะช่วยให้สามารถประมวลผลธุรกรรมปริมาณจำนวนมากได้รวดเร็ว ขณะที่เทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์จะเพิ่มความเสถียรและเทคนิคการเข้ารหัส (cryptographic techniques) ช่วยเพิ่มความปลอดภัย

สรุปการรับฟังความคิดเห็น

สื่อการชำระเงินที่ Retail CBDC จะเข้าไปมีบทบาท

What is Retail CBDC?
Retails CBDC or Retails Central Bank Digital Currency is a digital currency issued by a country’s central bank for retail.

Why Retail CBDC?
Currently, money transfer transactions have to rely heavily on private commercial banks. Therefore, it is imperative that the country’s central bank find a way for citizens to make financial transactions with each other without intermediaries and fees in order to prevent monopoly of private financial business which may provide unfair services or misuse personal information.

Bank of Thailand wants to create a digital currency system for citizens. It is like converting banknotes from paper to digital. BOT are now researching and will begin testing CBDC for a limited use (Pilot) in the second quarter of 2022.

How is Retail CBDC different from Cryptocurrency?
Bank of Thailand has said they need to find a balance between CeFi (Centralize Finance) and DeFi (Decentralize Finance), as relying on CeFi alone would restrict various aspects of future innovation. And relying solely on DeFi systems without supervision can cause issues such as cybersecurity risk, value volatility, and credit risk of cryptocurrency issuer.

Therefore, Retail CBDC is the answer for safety concerns. It is as low-risk as holding a cash banknote. But on the other hand, it can also be extended in terms of ideas to create new innovations as well.

Retail CBDC format to be released in Thailand
1. Similar to cash — financial transactions can be done by both connected and unconnected to the internet so that all groups of people can access.

2. It does not incur costs or fees for users and provide access to all sectors to develop innovations or write special programs (programmability).

3. Distributed through intermediaries — such as financial institutions or other financial service providers who have expertise and familiarity with doing KYC (Know Your Customer) with businesses and citizens.

4. No interest payments and restrictions on holding or redemption — to prevent rapid withdrawal, especially during crisis, as well as to prevent money laundering.

5. Take advantage of the use of centralized and decentralized technology. Centralized technology enables fast processing of large volumes transactions, while decentralized technology increases stability and encryption techniques to boost security.

References :

  • เอกสารเผยแพร่”สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชน: นัยต่อนโยบายการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินของไทย” โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย, ที่มา https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2564/n6064t_annex.pdf
  • สื่อวิดีโอ “สกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชน (Retail CBDC) ที่ออกโดย ธปท. ผลต่อภาคการเงินไทย และความเห็นจากสาธารณชน” โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย, ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=UgjBWVnML20&t=8s
  • Canva

ติดตาม 2Ext ได้ที่

Website- http://www.2ext.com
Facbook-https://www.facebook.com/2extcom
Linkedin-https://www.linkedin.com/company/2ext

--

--

2Ext

We are a trusted partner for the startups from the first step to finish line.