เริ่มต้นตั้งบริษัท (Setting up a company)

2Ext
4 min readSep 10, 2020

--

เมื่อเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพแล้วจำเป็นต้องจดบริษัทหรือไม่ ในช่วง Idea Stage ผู้ก่อตั้ง (Founders) อาจจะยังไม่จดทะเบียนบริษัทก็ได้เพราะเมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้วก็จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาเช่น ค่าจ้างทำบัญชีและสอบบัญชี แต่ถ้ามีผู้ร่วมก่อตั้ง (Co-founder) หลายคน และเริ่มดำเนินธุรกิจแล้ว เช่น มีลูกค้า มีการจ้างลูกจ้าง หรือเริ่มผลิตสินค้าและบริการ มีทรัพย์สินทางปัญญา ก็ควรพิจารณาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และจดทะเบียนในรูปแบบของ “บริษัทจำกัด” นั้นเป็นรูปแบบที่เป็นสากล เพื่อแบ่งหน้าที่และสัดส่วนผลประโยชน์ในบริษัท มีการกำหนดความสัมพันธ์ของหุ้นส่วนในบริษัทอย่างชัดเจน แต่หากเป็นช่วงที่สตาร์ทอัพต้องการเงินลงทุนภายนอกจากนักลงทุนแล้ว จำเป็นต้องจดทะเบียนบริษัททันทีหรืออย่างช้าที่สุดเมื่อมีนักลงทุนตกลงลงทุน

การจดทะเบียนเป็นบริษัทนั้นมีข้อดีที่อยากให้คำนึงถึง 3 เรื่องด้วยกัน หนึ่งคือการกำหนดว่าทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าที่ทำขึ้นมาเป็นของบริษัทให้ชัดเจนตั้งแต่แรกย่อมลดการพิพาทถกเถียงในเรื่องนี้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นระหว่างผู้ก่อตั้งด้วยกันเองและลูกจ้างที่จ้างผลิตสินค้า และสองเป็นการจำกัดความรับผิดของผู้ก่อตั้งต่อบุคคลภายนอก โดยถ้ามีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น เช่นกรณีผิดสัญญา ผู้ก่อตั้งไม่ต้องรับผิดเกินกว่ามูลค่าหุ้นที่ยังไม่ได้ชำระไว้ ซึ่งถ้าหากชำระเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว ก็จะรับผิดเพียงเท่ากับมูลค่าหุ้นที่ลงไว้ในบริษัท แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว รวมถึงการจัดตั้งบริษัทและมีทุนจดทะเบียนเพียงพอย่อมทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือกว่าการทำธุรกิจในฐานะบุคคลธรรมดา สามคือประโยชน์ทางภาษี ที่รัฐมักจะมีมาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมเช่นการยกเว้นไม่เก็บภาษีหรือเสียภาษีในอัตราพิเศษ ซึ่งทำให้สตาร์ทอัพได้รับประโยชน์ทางภาษีมากกว่าการทำธุรกิจในฐานะบุคคลธรรมดาอีกด้วย เพราะเป็นการแยกฐานภาษีออกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งถึงแม้ดำเนินธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดาแต่ถ้ามีการจ้างลูกจ้างหรือเริ่มผลิตสินค้าและบริการแล้ว ก็จะต้องจัดทำบัญชีเช่นเดียวกัน

สตาร์ทอัพอาจเคยได้รับคำแนะนำต่อ ๆ กันมาและมีความเข้าใจว่าต้องตั้งบริษัทที่สิงคโปร์หรือฮ่องกงซึ่งเป็น Financial Hub จึงจะมีนักลงทุนสนใจมาลงทุน ความเชื่อนี้อาจเป็นเพราะระบบนิเวศน์ของสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ไทยนั้นเพิ่งจะเติบโตเพียงไม่เกินสิบปีให้หลังนี้ ในช่วงแรกนักลงทุนยังไม่เข้าใจรูปแบบบริษัทและกฎหมายไทย อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศน์ในไทยเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ปัจจุบันมีนักลงทุนในประเทศไทยเองและนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทยมากขึ้น สตาร์ทอัพในช่วง Early Stage สามารถหาแหล่งเงินทุนลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้ และหากเข้าสู่ช่วง Growth Stage แล้วบริษัทมีทางเลือกที่จะจัดรูปแบบโครงสร้างบริษัทใหม่โดยอาจจัดตั้งนิติบุคคลในต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาภายหลังได้ ในระยะแรกจึงควรเลือกทางที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและสมเหตุสมผล สามารถบริหารจัดการทางทะเบียนได้ง่าย สำหรับสตาร์ทอัพไทย การจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยนั้นจัดการง่ายกว่าและเสียค่าใช้จ่ายไม่มาก จึงเหมาะสมกับการเริ่มต้นตั้งบริษัท และในอนาคตมีแนวโน้มที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในบริษัทไทยมากขึ้นจากความพยายามทั้งจากภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันผลักดันการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทเพื่อยกระดับให้เป็นสากล

ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย สามารถดูรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต้องมี “ผู้เริ่มก่อการ” อย่างน้อย 3 คน (กฎหมายที่ให้มีผู้ก่อการคนเดียวยังอยู่ระหว่างการพิจารณา และยังไม่ออกเป็นกฎหมายในขณะที่เขียนนี้) โดยสตาร์ทอัพสามารถทำได้เอง อย่างไรก็ตาม ในการเตรียมเอกสารและรวบรวมเอกสารรวมถึงการเดินทางไปจดทะเบียน สตาร์ทอัพอาจเลือกจ้างบริษัทกฎหมายทั่วไปไปจดทะเบียนให้ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปเองเพราะหากเอกสารไม่ครบ อาจจะต้องเสียเวลาหลายเที่ยว ขั้นตอนโดยสังเขป เริ่มจากการจองชื่อบริษัท จะใช้เวลาพิจารณา 2–3 วัน และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วให้นำเอกสารจดทะเบียนพร้อมเอกสารการจองชื่อไปจดทะเบียนที่สำนักงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นท้องที่ที่บริษัทตั้งอยู่ และอย่าลืมเตรียมค่าธรรมเนียมให้พร้อม โดยค่าธรรมเนียมคิดตามทุนจดทะเบียน และค่าคัดหนังสือรับรองด้วย นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ายังเปิดให้จดทะเบียนทางออนไลน์ได้ โดยผู้ยื่นขอจดทะเบียนต้องเข้าไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก่อน ในตอนหน้าจะพูดถึงการแบ่งการถือหุ้นระหว่าง Co-founder พร้อมกับเรื่องที่ต้องคำนึงถึงอื่น ๆ ในการเริ่มทำสตาร์ทอัพ

Do we need to set up a company when start doing startup? In the Idea Stage, the founders might not register the company since it incurs expenses e.g. the accounting and audit fee. However, if there are many co-founders and the startup started doing business such as having customers, hiring the employees, starting production, giving service or having intellectual property, then the startup should consider doing business as a legal entity. The standard format is “Limited Company”. It is useful to divide the responsibility and benefits/returns in the company and to govern the relationship between the co-founders. If the startup needs the external investment from the investors, then it is time to set up the company or when an investor committed to invest.

There are 3 advantages I urge the startup to consider. First, to stipulate that the intellectual property right of the product is of the company to avoid having a dispute over who have the claims over the intellectual property — between the co-founder and the employee. Second, to limit the liability to the third party. For example, if the startup defaults on the contract, the founders will not be held liable more than the amount of unpaid shares capital. If the shares are fully paid up, the founders will be responsible for paid up capital with no personal liability. Operating under the company having properly registered capital gains more creditability for business than operating personal. Third, to receive a tax benefit if any; the government usually has a tax incentive for the SMEs such as a waiver or special tax rate. The startups will receive more tax benefit than doing business under a person’s name because it splits the taxable entity from personal tax. When hiring an employee or starting production or rendering services, the startup under a person’s name will have to do some accounting as well.

There is a tell tales about registering the company that the startup should register in Singapore or Hong Kong which is a financial hub to attract investors. This notion probably starts because Thailand’s startup ecosystem has just started to grow within the span of a decade. At the very beginning, the investors are clueless about the formation and laws governing the Thai corporate. However, the ecosystem has grown rapidly which in turn attracts Thai investors and foreign investors to make investments in Thai startups more than before. Early stage startups can gain access to capital even when registering as a company under Thai law. When the startup grows and enters the Growth stage, it can restructure and reincorporate in other jurisdictions later without hassle. In the beginning, we should consider the path with fewer expenses and sensible as well as easy to manage. For Thai startups, setting up a company in Thailand is easier and cost less. Thus, it is suitable to set up the company. There is a trend that Thai startups will attract more investors abroad to invest in the company which happens because of the cooperation between the government and the private sector to drive the change in the corporate law to be updated to the international standard.

The procedure to register the company in Thailand can be found in details and the forms can be downloaded from the Department of Business Development (DBD). The company needs at least 3 “Promoters” to register a company. (The law allowing 1 promoter has not yet been announced as of the date this article is written.) The founders can register the company by themselves. However, the startup may have a general law firm collects and prepares the necessary documents and goes to the DBD registrar office without having to spend a lot of time travel back and forth if the documents are not complete. The summary of the process starts by reserving the company’s name which will take around 2–3 days to review. And when the name is approved, the startup brings the necessary forms and documents together with the company’s name reservation approval to register the company at any DBD office which is not necessary to be the local DBD in the same area of where the company is located. Do not forget to prepare for the fees too. The registrar fee will be calculated from the registered capital and there are fees for issuing the company affidavit. Moreover, DBD has online company registration service which the applicant can register for this service in the DBD’s website. In the next issue, I will write about the shares structure between the co-founders and other considerations when starting a startup.

--

--

2Ext

We are a trusted partner for the startups from the first step to finish line.