สตาร์ทอัพกับการกำกับดูแล (Startups, Laws and Regulations) (ตอนที่ 2)

2Ext
3 min readJan 15, 2021

--

ฉบับที่แล้วได้เกริ่นเกี่ยวกับการกำกับดูแลสตาร์ทอัพไปแล้ว ฉบับนี้มาต่อกันเรื่องการแก้ไขและพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพกันดีกว่า และตอบคำถามที่คนทำสตาร์ทอัพมักถามกันมากที่สุดเกี่ยวกับกฎหมายสตาร์ทอัพด้วย เนื่องจากสตาร์ทอัพเป็นการทำธุรกิจในรูปแบบ business model ใหม่หรือที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาประกอบธุรกิจ ทำให้บางครั้งกฎหมายที่มีอยู่ในเดิมอาจไม่สามารถใช้กำกับดูแลธุรกิจแบบใหม่นั้นได้หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจแบบใหม่ ๆ

หน่วยงานที่กำกับดูแลกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพเช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รวมถึงองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องเช่น สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (หรือที่มักเรียกว่า สมาคมไทยเทคสตาร์ทอัพ) สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย สมาคมเฮลท์เทคไทย เป็นต้น มีความพยายามร่วมกันผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคและจัดทำกฎหมายใหม่ขึ้นมารองรับรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น โดยในส่วนของกฎหมายเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัทเอง ก็มีการเสนอร่างเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ให้รองรับการออกหุ้นกู้แปลงสภาพของบริษัทจำกัด การออกหุ้นให้พนักงาน หรือ ESOP การปรับแก้หุ้นบุริมสิทธิของไทย ให้กฎหมายมีความเป็นสากลซึ่งจะทำให้นักลงทุนสามารถเข้าใจโครงสร้างได้ง่ายและเข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทยมากขึ้น แทนที่สตาร์ทอัพไทยจะต้องไปจดทะเบียนบริษัทในประเทศอื่นซึ่งมีกฎหมายที่เป็นสากล เช่น สิงคโปร์หรือฮ่องกง และทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียรายได้ที่เกิดจากความเติบโตของสตาร์ทอัพนั้นให้กับประเทศอื่น

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขกฎหมายหรือการมีกฎหมายที่รองรับการทำธุรกิจนั้นยังไม่เพียงพอที่จะเอื้ออำนวยให้การทำสตาร์ทอัพทำได้ง่าย เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่ต้องเกี่ยวข้องกับสตาร์ทอัพไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ สรรพากร หรือหน่วยงานกำกับดูแลต้องควรยกระดับความรู้ความเข้าใจ เรียนรู้ที่จะปรับตัวและทำความเข้าใจธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อให้สามารถปรับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจด้วย แต่ปัญหานี้ก็ไม่ใช่ว่าจะมีที่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียว แต่หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกต่างเผชิญปัญหาเดียวกันเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนกฏหมายและผู้กำกับดูแลตามไม่ทัน ประเทศที่สามารถทำความเข้าใจกับเศรษฐกิจใหม่และปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้เร็วย่อมเป็นประเทศที่ได้เปรียบประเทศอื่น และดึงดูดผู้ประกอบการที่มีความสามารถ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเงินลงทุนเข้าไปในประเทศซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเศรษฐกิจใหม่นี้ได้

สำหรับสตาร์ทอัพที่มีข้อสงสัยเรื่องการกำกับดูแลและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถขอรับคำปรึกษาจาก NIA ได้ฟรีที่ศูนย์ One Stop Service ที่ทรูดิจิตอลปาร์ค ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 นี้เป็นต้นไป และเร็ว ๆ นี้จะเปิดอีกศูนย์ที่เชียงใหม่ด้วย ในระหว่างที่หน่วยงานต่าง ๆ กำลังแก้ไขกฎหมายกันอยู่นั้น มักมีคำถามหนึ่งที่สตาร์ทอัพมักจะถามอยู่เสมอ นั่นคือ หากยังไม่มีกฎหมายมากำกับหรือรองรับจะสามารถเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพนั้นได้หรือไม่ หากตอบสั้น ๆ ก็คงจะบอกว่า สามารถทำได้ถ้าไม่มีกฎหมายห้าม แต่สตาร์ทอัพต้องมั่นใจว่า ธุรกิจที่กำลังทำอยู่นั้นไม่มีกิจกรรมที่ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจก่อนหรือไม่มีกฎหมายห้ามกิจกรรมนั้น

ซึ่งถ้าไม่ใช่ธุรกิจที่มีการกำกับดูแลอยู่เดิมก็น่าจะทำได้ แต่หากเป็นสตาร์ทอัพด้าน Fin-tech, Health-tech หรือด้านอื่นที่มีการกำกับดูแลค่อนข้างเข้มข้น มักจะมีกฎเกณฑ์กำหนดไว้กว้าง ๆ ว่ากิจกรรมด้านนั้นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับก่อน เช่นนั้นสตาร์ทอัพควรปรึกษาหน่วยงานกำกับดูแลหรือผู้เชี่ยวชาญกฎหมายด้านนั้น ๆ ก่อนประกอบธุรกิจเพราะอาจมีโทษอาญา (จำคุก) ได้

In the last issue, we have talked about startups supervision. In this issue, we will continue on the development of Thai laws to support the startups and answer frequently asked questions about startups law. Since startups are the new business model or using the new technology in business, sometimes the existing law cannot catch up to the new business or being an obstacle to do new business.

The government agency which supervises to the regulations and laws in relation to startups such as the NIA and other related private agencies such as the Thai Tech Startup Association, Thai Fintech Association, Thai Healthtech Association together have been pushing the amendment for the laws which are obstacles and enactment of the new law to support the new business. For example, there is a push in the amendment of the corporate law in the Civil and Commercial Code to allow the issuance of the convertible debentures for the private limited company and the issuance of Employee Stock Options (ESOP) and amend the preferred stocks to be in the same standard as international law. Such amendments will make the investors be able to comprehend with the Thai investment structure and invest more in the Thai startups which on the other hand reduce the need for Thai startups to incorporate the company in other countries which adhere to the standard of international corporate laws such as Singapore or Hong Kong.

However, the amendment of the laws or having the laws which support the startups to ease the doing of business is not enough; we need to have the government officers in the relevant agencies such as the Ministry of Commerce, the Revenue Department or the Regulators should improve and train the officers to understand and learn to adapt with the startups business to be able to correctly interpret and use the law accordingly without causing more trouble to the business. Anyway, the catching up issue is not the problem that occurs only in Thailand. Other regulators around the world all face the same challenge to the rapid technology disruption that the existing law and the regulators are hardly catching up. The country that can understand the new economy and adapt to the change rapidly will certainly gain the upper hand than other countries and can attract the entrepreneurs with potential, new technology and the capital investment to such a country which in turn will help the economy of the country to jump up in the new economic frontier.

If the startups have any inquiry about the regulations and laws, the startups can ask for free advice at NIA One Stop Service located at True Digital Park from April 2019 and soon will open another One Stop Service in Chiang Mai. While many agencies are busy with the law amendment, one of the most frequently asked questions by startups is whether they can start doing startups business without having new laws to regulate or support. If answered shortly, I can say that if there is no law to prohibit such activity, the startups must be ensured that the business activity does not require any license to operate or there is no explicit prohibition of such “activity”.

If such business is not regulated business, it should be fine to do. The caveat is that for heavily regulated industries such as Fin-tech or Health-tech, the regulations usually stipulated that the activity related to the Financial or Health industry must obtain the approval from one or many specific regulators first. Therefore, it is safer for the startup in a more regulated industry to consult with the regulators or lawyers who are specialists in such fields before starting commercial operation. Some of the sanctions of not obtaining the approvals include criminal punishment and jail.

--

--

2Ext
2Ext

Written by 2Ext

We are a trusted partner for the startups from the first step to finish line.

No responses yet