สตาร์ทอัพกับการกำกับดูแล (Startups, Laws and Regulations) (ตอนที่ 1)

2Ext
3 min readOct 2, 2020

--

การเริ่มต้นทำสิ่งใหม่เป็นธุรกิจขึ้นมาอย่างหนึ่ง เราจำเป็นต้องสนใจเรื่องกฎหมายด้วยหรือ บางคนคิดว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคเป็นภาระ หาก “เสียเวลา” คิดเรื่องกฎหมายก็ไม่ต้องเริ่มต้นทำธุรกิจกันพอดี

จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่นั้น กฎหมายเป็นเรื่องแรก ๆ ที่ควรคิดถึงในช่วงแรกของการทำสินค้าหรือบริการ เพื่อที่สตาร์ทอัพจะสามารถประเมินความเสี่ยงของการทำธุรกิจและหาทางรับมือหรือหาทางออกสำหรับปัญหาไว้แต่เนิ่น ๆ หากเราปรับทัศนคติทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า ความเข้าใจกฎหมายในการประกอบธุรกิจนั้นคือความได้เปรียบ และทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงและวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างรอบคอบแล้ว การทำธุรกิจก็จะไม่สะดุดง่าย ๆ สตาร์ทอัพซึ่งอยากเติบโตอย่างรวดเร็วแต่มั่นคงก็ควรหันมาพิจารณามุมมองเรื่องกฎหมายและการกำกับดูแลของสตาร์ทอัพเสียตั้งแต่แรก

กฎหมายทั่วไปที่สตาร์ทอัพส่วนใหญ่ควรรู้เหมือนบริษัทที่ทำธุรกิจธรรมดาได้แก่ กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายภาษี กฎหมายแรงงาน กฎหมายนิติกรรมสัญญา กฎเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนและการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นต้นและกฎหมายพิเศษสำหรับธุรกิจที่ต้องมีการกำกับดูแลเพิ่มเติม เช่น Fintech หรือ Healthtech

เมื่อจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้ว ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายหุ้นส่วนบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ที่จะต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเรียกว่าประชุมสามัญประจำปี (ประชุมครั้งหลังจะเรียกว่า ประชุมวิสามัญ) และการประชุมสามัญประจำปี กฎหมายยังได้กำหนดด้วยว่าจะต้องประชุมวาระเรื่องอะไรบ้าง รวมทั้งมีการกำหนดว่าต้องแจ้งวาระดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบและจะต้องส่งเอกสารเรียกประชุมก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน (แต่หากเป็นเรื่องที่ต้องใช้มติพิเศษจะต้องเรียกประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน) โดยนอกจากแจ้งทางไปรษณีย์แล้วยังต้องประกาศลงหนังสือพิมพ์อีกด้วย เมื่อประชุมผู้ถือหุ้นแล้วต้องจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งนั้น สิ้นงวดปีบัญชีก็ต้องนำส่งรายงานการสอบบัญชีและงบการเงินให้ทั้งสรรพากรและกระทรวงพาณิชย์ภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วยเช่นกัน เอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารส่วนหนึ่งที่สตาร์ทอัพจะต้องส่งให้นักลงทุนดูเมื่อมีการลงทุนจาก Venture Capitalist (VC) ในระหว่างการทำ Due Diligence (ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในตอนต่อ ๆ ไป) สตาร์ทอัพจึงควรมีระบบจัดเก็บบันทึกเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัทให้ครบถ้วน และง่ายต่อการจัดเตรียมเอกสารเพื่อทำ Due Diligence ดีกว่าการทำเอกสารขึ้นใหม่ในภายหลังซึ่งจัดทำให้ถูกต้องได้ยากเมื่อผ่านไปหลายปี

สำหรับสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจบางด้านที่มีการกำกับดูแลเพิ่มเติมจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการกำกับดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากหากปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจจะมีผลกระทบกับประชาชนเป็นวงกว้าง สตาร์ทอัพเองอาจจะถูกห้ามประกอบธุรกิจ และในหลาย ๆ กรณี มีโทษทางอาญาสำหรับกรรมการบริษัทด้วย ซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจแต่ละประเภทอาจจะมีหลายหน่วยงาน เช่นด้าน Fintech แบ่งเป็น 3 หน่วยงานหลักตามธุรกรรมได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธ.ป.ท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ค.ป.ภ.) เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับตลาดเงิน Peer to peer lending จะทำได้ต่อเมื่อขออนุญาตประกอบธุรกิจและได้รับอนุญาตก่อนอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธ.ป.ท. สำนักงาน ก.ล.ต. ดูแลตลาดทุนเช่น Crowdfunding ICO การระดมทุน การเป็นนายหน้าขายประกันทางเว็ปไซต์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ค.ป.ภ. บางสตาร์ทอัพซึ่งมีกิจกรรมทางธุรกิจหลายอย่างอาจจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลมากกว่า 1 หน่วยงานด้วย นอกจาก 3 หน่วยงานกำกับข้างต้นแล้ว ยังต้องปฎิบัติตามกฎหมายฟอกเงินที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและหน่วยงานกำกับดูแลหลักทั้งสามช่วยกันกำกับดูแลอีกด้วย

ในฉบับหน้าจะพูดถึงแนวทางการแก้ไขและพัฒนากฎหมายที่จะส่งเสริมสตาร์ทอัพและตอบข้อสงสัยที่หลายคนมักถามว่าถ้าไม่มีกฎหมายมากำกับธุรกิจประเภทนั้นแล้วจะสามารถทำสตาร์ทอัพนั้นได้หรือไม่

To start a new business, do we need to understand the law? Some people perceive the law as an obstruction or burden. Some think it is a waste of time to ponder and to consider it, will dissuade people from starting a business.

From my experiences as the legal counsel to big corporates, the law is one of the first things to consider while making a product or service. Adding legal into consideration will help startups accurately evaluate the risk of doing business and being well-prepared or find solutions for the potential problems from the beginning. If we change our mindset and understand that the comprehension of the law in doing business is an advantage that will help to evaluate the risk and plan the business strategy, the business will not be interrupted easily. The startups which want to grow rapidly but strongly should consider the aspect of law and regulations related to the startups at the very beginning.

The law that the startups should know generally like a normal business such as corporate law, intellectual property law, tax law, labour law, contract and obligation law, investment law and foreign business law. For some businesses with extra regulations need to know special laws such as Fintech or Healthtech.

When register as a company, the company has to comply with the corporate law subject to the civil and commercial code (CCC). The company has to hold the shareholders’ meeting at least once a year which is called the annual general meeting (which the subsequent meetings will be called the “extraordinary meeting”). The law has stipulated that the annual general meeting (AGM) must at least contain the agenda required by the law. Moreover, the invitation and agenda must be sent to the shareholders at least 7 days in advance (or for special voting must be at least 14 days in advance). The company must send the invitation by postal mail and publish the announcement in the newspaper too. After the shareholders’ meeting, the company must make the meeting minute. At the end of the financial year, the company must submit the audited accounting book and financial statements to the Revenue Department and the Ministry of Commerce within the specified timeframe. These documents will be a part of the documents required for startup Due Diligence by the Venture Capitalist (VC) (which there will be more details in a later chapter). Startups should have the record keeping system to organize documents related to the company for completion and easy to prepare the documents for the Due Diligence which is better than making the documents later which might not be correct after years past.

For startups which will be subjected to extra regulations will need to emphasize on the compliance since the non-compliance will be affected to the public. The startups can be sanctioned by barring from doing business and, in some cases, there will be criminal punishment (jail time) for the directors too. The regulator in a specific type of business can have more than one agency such as in Fintech. Fintech has 3 main regulators, depending on the activity of the business, which are the Bank of Thailand (BOT), the office of Securities and Exchange Commission (SEC) and the Office of Insurance Commission (OIC). For example, the financial market activity such as peer-to-peer lending, the startup must obtain the license to operate from BOT; the capital market activity such as crowdfunding, ICO, fundraising from the public must be regulated by SEC; online insurance broker/agent is under OIC oversight. Some startups have many activities and could fall under more than one jurisdiction of regulators’ business oversight. Apart from the three aforementioned regulators, the Fintech startups will need to follow the Anti-money laundering law which the Anti-Money Laundering Office and the regulators regulated.

In the next issue, I will write about the direction of the law development and amendment to support the startups and answer the question that if there is no law to regulate the type of new business, can startup start doing the business.

--

--

2Ext
2Ext

Written by 2Ext

We are a trusted partner for the startups from the first step to finish line.

No responses yet